10 มาตรฐานการเรียนการสอน MOOC ที่ได้รับการยอมรับระดับนานาชาติ

มาตรฐาน 1 โครงร่างรายวิชา
ตัวบ่งชี้
1.1 มีคำอธิบายรายวิชาและผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1.2 ระบุวัตถุประสงค์ เนื้อหา จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้และระดับเนื้อหาที่เหมาะกับผู้เรียน
1.3 ระบุวิธีการประเมินและเกณฑ์การประเมิน

มาตรฐาน 2 ความพร้อมของบุคลากร
ตัวบ่งชี้
2.1 ผู้สอน
ㆍผู้สอนมีทักษะที่จำเป็นต่อการจัดการเรียนรู้ออนไลน์
ㆍผู้สอนมีคุณสมบัติความรู้ทางวิชาการและการสอนหรือประสบการณ์ที่แสดงถึงความเชี่ยวชาญ
2.2 บุคลากรฝ่ายสนับสนุน
ㆍมีบุคลากรฝ่ายสนับสนุนช่วยการออกแบบและผลิตบทเรียน
ㆍมีผู้ช่วยสอนเพื่อช่วยสนับสนุนการสอนออนไลน์และติดตามผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

มาตรฐาน 3 การออกแบบการเรียนการสอน
ตัวบ่งชี้
3.1 มีการจัดโครงสร้างเนื้อหาเป็นลำดับสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ และจำนวนเนื้อหาสัมพันธ์กับระยะเวลาเรียนรู้
3.2 มีกลยุทธ์การสอนและกิจกรรมการเรียนรู้ที่กระตุ้นกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
3.3 มีการวัดและประเมินผลด้วยกระบวนการหลากหลายทั้งการประเมินเพื่อการพัฒนาและการประเมินเพื่อตัดสินผล
3.4 มีการทดสอบและประเมินรายวิชาบนระบบก่อนเปิดสอน

มาตรฐาน 4 เนื้อหา
ตัวบ่งชี้
4.1 เนื้อหามีความถูกต้อง
4.2 เนื้อหาสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เชื่อมโยงกับประสบการณ์จริงที่ผู้เรียนจะพบเจอและส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลก
4.3 นำเสนอเนื้อหาที่เป็นกลาง ไม่มีอคติเคารพความแตกต่างของบุคคลและสังคม

มาตรฐาน 5 สื่อการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้
5.1 คุณภาพของสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองมีความถูกต้องและผลิตตามหลักการออกแบบสื่อ
5.2 คุณภาพของสื่อเสริมการเรียนรู้มีความถูกต้องและสอดคล้องกับเนื้อหารายวิชาและวัตถุประสงค์การเรียนรู้

มาตรฐาน 6 การสื่อสาร
ตัวบ่งชี้
6.1 มีการใช้เครื่องมือสื่อสารที่อยู่ในระบบจัดการรายวิชา (MOOC Platform) หรือจากเว็บภายนอกเป็นเครื่องมือจัดกิจกรรมการเรียนรู้
6.2 มีคำอธิบายลำดับขั้นตอนการเรียน คำสั่งงานและการใช้งานบทเรียนด้วยภาษาที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย

มาตรฐาน 7 ลิขสิทธิ์และครีเอทีฟคอมมอนส์
ตัวบ่งชี้
7.1 เนื้อหาและสื่อการเรียนรู้ในรายวิชาได้รับการตรวจสอบความถูกต้องตามสิทธิการใช้งาน
7.2 มีการระบุสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons) ของเนื้อหาและสื่อการเรียนรู้ตามที่หน่วยงานรัฐ/สถาบันการศึกษากำหนดให้เห็นอย่างชัดเจน

มาตรฐาน 8 การสนับสนุนผู้เรียน
ตัวบ่งชี้
8.1 มีการแนะนำวิธีการเรียนออนไลน์ให้ประสบความสำเร็จ
8.2 ผู้สอนหรือผู้ช่วยสอนแจ้งช่องทางและช่วงเวลาติดต่อสื่อสารเพื่อให้ผู้เรียนติดต่อได้ตลอดการเปิดสอน
8.3 ผู้สอนหรือผู้ช่วยสอนติดต่อสื่อสารและติดตามการเรียนของผู้เรียนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนคงอยู่ในระบบ

มาตรฐาน 9 ผลการจัดการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้
9.1 ร้อยละของผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินของรายวิชา
9.2 ผลสำรวจความคิดเห็นของผู้เรียนต่อการจัดการรายวิชา
9.3 มีเอกสารรับรองสำหรับผู้เรียนที่เรียนผ่านเกณฑ์การประเมินรายวิชา

มาตรฐาน 10 การปรับปรุงพัฒนา
ตัวบ่งชี้
10.1 มีการประเมินผลรายวิชาเพื่อใช้เป็นข้อมูลปรับปรุงรายวิชา จากความคิดเห็นของผู้เรียน ผู้สอน และบุคลากรฝ่ายสนับสนุน
10.2 น้ำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนการสอน MOOC ?

  • MOOC เป็นคำย่อจาก Massive Open Online Course คือรายวิชาหรือบทเรียนออนไลน์ในระบบเปิดที่ออกแบบรองรับผู้เรียนจำนวนมากเปิดโอกาสให้ทุกคนที่สนใจในรายวิชานั้นๆ สมัครเข้าเรียนได้โดยไม่มีเงื่อนไขและค่าใช้จ่าย จึงเป็นแหล่งความรู้ออนไลน์สำหรับผู้เรียนที่สนใจทุกคน
  • การพัฒนารายวิชาจำเป็นต้องมีกระบวนการทำงานในแต่ละส่วนที่เกี่ยวข้องสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ มาตรฐานและแนวปฏิบัติจึงเป็นแนวทางการทำงานให้มีคุณภาพที่ยอมรับได้
  • การดำเนินการตามมาตรฐานและแนวปฏิบัติการเรียนการสอน MOOC จะทำให้มีรายวิชา MOOCมีคุณภาพการเรียนการสอนเป็นที่ยอมรับได้ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติที่จะสามารถเปิดรับผู้เรียนนานาชาติได้ (กรณีมีการแปลภาษาท้องถิ่นเป็นภาษาสากล)
  • ผู้บริหารโครงการระบบการเรียนการสอน MOOC ระดับประเทศ หน่วยงานและสถาบันการศึกษารวมถึงภาคธุรกิจ
  • นักวิชาการในหน่วยงานที่ดูแลการบริหารจัดการโครงการ MOOC ระดับประเทศ และระดับสถาบันการศึกษา
  • ผู้สอนที่จะผลิตรายวิชาและสอนด้วย MOOC
  • นักเทคโนโลยีการศึกษา/ผู้เชี่ยวชาญการผลิตสื่อและฝ่ายสนับสนุนการผลิตและจัดการรายวิชา MOOC
  • ผู้เรียนที่ต้องการเปรียบเทียบมาตรฐานการเรียนการสอนและใช้ประโยชน์จากการรับประกาศนียบัตรเพื่อใช้เป็นหลักฐานการเรียนรู้

ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ และ เสมอกาญจน์ โสภณหิรัญรักษ์. (2560).  เอกสารสรุป 10 มาตรฐานการเรียนการสอน MOOC ที่ได้รับการยอมรับระดับนานาชาติ.

Powered by BetterDocs

Leave a Comment